หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่4 หน้า4

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Serverเป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย
รูปที่ 3 ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

หน่วยที่4 หน้า 3

เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย นั่นเอง
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะตังอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดยการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางจะมีราคาสูง และและไม่สามารถสนับสนุนระบบการประมวลผลแบบ Multiprocessorได้ดีเท่ากับระบบเครือข่ายแบบ Client/Server ปัจจุบันระบบนี้จึงมีความนิยมในการใช้งานลดน้อยลง

2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้


รูปที่ 2 ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Serverเป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย
รูปที่ 3 ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่4 หน้า 2

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์




การทำงานของระบบ Network และ internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN
จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต ก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

โครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) หมายถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบ คือ 1. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
2. เครือข่ายแบบดาว (Star Network)
3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)


4. เครือข่ายแบบต้นไม้ หรือ ทรี
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network tology) 4รูปแบบ


ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว

1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน



เครือข่ายแบบดาว (Star Network)


2.เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาว
เส้นเดียวในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง

เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)



3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก




เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)


4. เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่าง ๆ
เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยัง
สถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อมรับส่งข้อมูลเดียวกัน






วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4
ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่คอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันสามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นซัดี แผ่นบันทึก แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดิกก์ เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทไหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องสามารถแบ่งออกได้เป็นหลานประเภท
ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
และซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะ
1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้ารที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

2.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linix รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran,Pascal,Cobol,เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ เเป้นอักขระส่งรหัสด้วยอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณืรับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพง    เป็นตัน
2)ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำเอาข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารบบ(directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2.แปลภาษา
1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ดอเอส(Operating System : OS)
ซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิมเตอร็ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
1)ดอส (Disk Operating System :DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ทีร่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโคคอมพิวเตอร์ได้ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอันมากในปัจจุบัน
2)วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยใช้สามารถสั่งงานจากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ล่ะงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถเลื่อนตัวเมาส์เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอันมากในปัจจุบัน
3)ยูนิกซ์(Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็ฯระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open System)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองในการใช้งานลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภาระกิจ(multitasking)ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
4)ลีนุกซ์(linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาการมาจารระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับบให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะโปรแกรมอย่างยิ่งในกลุ่มของกูส์นิว(GNU)และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware)ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช่จ่าย
-ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูลเช่น อิเทล (PC Intel)ดิจอตอล(Digital Alphacomputer)และซันสปาร์ค(Sun Sparc)ถึงแม้ในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนซีพีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5)แมคอินทอช(macintosh)เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอิทอชส่วนมากนำไปใช้งานด้านการฟิก ออกแบบและจัดเก็บเอกสาร นิยมใช้ในสำหนักพิมพ์ต่างๆ
  นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอย่างมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการแน็ตเเวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างงานเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในน้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
-ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2.ประเภทใช้หลายงาน(Multi-tasking)
ระบบการทำงานประเภทนี้สามารถควบคุม การทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป UNIX เป็นต้น
3. ประเภทใช้หลายๆคน (Multi-user)
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ขญะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้งานเสร็จในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น
2.ตัวแปลภาษา
   การพัฒนาภาษาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ต้องมีตัวแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาสร้างขึ้นเพื่อให้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เพื่อสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปล
ระดับภาษาสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal,Cและภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ Fortran,Cobol และภาษาอาร์จีพี
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
    ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้านเช่น การจัดพิมพ์ หรือการทำบัญชี การออกแบบเบไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
-แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น2ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ(Propriery Software)
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package)และโปรแกรมมาตราฐาน(Standard Package)
-แบ่งตามกลุ่มใช้งาน จำแนกได้3กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
2.กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Grophic and Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications)
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Sun Star Office Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel,Sun Star Office Cals
โปรแกรมนำเสนอ อาทิ Microsoft Powerpoint,Sun Star Office Impress
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหว การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่ง อาทิ CoreLDRAW,Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware,Toolbook Instructor,Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adabo Flash,Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะ เพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเซ็คอีเมล การท่องเที่ยวเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมกลุ่มนี้ไดแก่
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook,Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer,Mozzila Firefox
โปรมแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSM Messenger/Windows Messenger,ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH,MIRCH
       การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ใชจะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได่ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบและเป็นตัวอักษร เป็นประโยค ข้อความ ภายในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
ภาษาคอมพิวเตอร์มีอย่ามากมาย
 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
         เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษน์จะต้อวบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเปนต้องมีสื่อกลาง
ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อการสำหรับติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้    เรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
  ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
  ภาษาเครื่อง (Machine Languages) 
         เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0  และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1เป็นหรัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขสองฐานนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขสองฐานที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
    การใชคอมพิวเตอร์ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก  จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
ภาษาแอสเซมบลี (Assembiy Languages)
    เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลี ช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูง(High-Level Languages)
      เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเขียนและเรียนรู้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น เพราะภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมี 2 ชุด ด้วยกัน คือ คอมไพเลอร์(Compailer) อินเทร์พรีเตอร์(Interpreter)
-คอมไพเลอร์
      จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
-อินเทอร์พรีเตอร์
      จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งตามลำดับต่อไปนี้
ข้อแตกต่างของคอมไพเลอร์และการแปลโปรแกรม และชุดคำสั่ง
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง